รายงานวิจัยในชั้นเรียนวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
การพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ วิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ของ นักศึกษา ปวช. 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยวิธีการฝึกหัดการเขียนซ้ำหลายๆครั้ง
นางกนกวรรณ บุพศิริ วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากการเรียนการสอนในสาขางานคอมพิวเตอร์ จะมีความเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งที่เป็นภาษาอังกฤษ หรือคำศัพท์อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด (HARDWARE) นักเรียนส่วนใหญ่มักจะเขียนคำศัพท์ผิด และสะกดไม่ถูกต้อง และในการเรียนวิชาฮาร์แวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้นก็มีความจำเป็นที่ต้องในนักเรียนเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด (HARDWARE) และสะกดให้ถูกต้อง การแก้ไขปัญหาในการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยในนักเรียนสามารถเขียนสเปก (Speck) คอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี และสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนในการเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเป็นการบูรณาการการเรียนระหว่างวิชาภาษาอังกฤษและวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้
จุดประสงค์ของการวิจัย
เพื่อแก้ไขปัญหาการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษในส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องเกิดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และได้บูรณาการการเรียนการสอนระหว่างวิชาคอมพิวเตอร์และวิชาภาษาอังกฤษ
วิธีดำเนินการวิจัย
- กลุ่มเป้าหมาย
นักศึกษาระดับชั้น ปวช. 2 สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพพนมทวน
- เครื่องมือในการวิจัย
1. หนังสือวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น
2. ป้ายคำศัพท์
3. แบบทดสอบการเขียน ครั้งที่ 1 , ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
ระยะเวลาของการวิจัย 5 สัปดาห์ โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
มีคำศัพท์ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่ 12 คำดังนี้
1. MAINBOARD 7. FLOPPY DISK DRIVE
2. HARDDISK 8. MONITOR
3. RAM 9. KEYBOARD
4. CPU (CENTRUL PROCESSING UNIT) 10. MOUSE
5. CASE 11. POWER SUPPLY
6. CD-ROM DRIVE 12. SOUND CARD
1. ใช้คาบที่ 7 ของวันพุธ เริ่มจากสัปดาห์ที่ 5 ให้ตัวแทนนักเรียนมาจับฉลากคำศัพท์จำนวน 4 คำ เมื่อได้คำศัพท์จำนวน 4 คำแล้ว ครูจะอ่านและสะกดให้ฟังทุกคำ คำละ 3 ครั้ง แล้วให้นักเรียนอ่านตาม หลักจากนั้นก็ปิดป้ายคำศัพท์ และให้นักเรียนเขียนคำศัพท์จำนวน 4 คำ คำละ 10 ครั้งลงในกระดาษที่ครูแจกให้ โดยไม่มีตัวอย่างให้ดู และให้วันศุกร์คาบที่ 5 มาทดสอบการเขียนคำศัพท์ของสัปดาห์ที่ 1 อีกครั้งโดยครูจะขานชื่อคำศัพท์ให้ แล้วให้นักเรียนเขียนตาม และบันทึกผลครั้งที่ 1
2. ใช้คาบที่ 7 ของวันพุธ เริ่มจากสัปดาห์ที่ 6 ให้ตัวแทนนักเรียนมาจับฉลากคำศัพท์จำนวน 4 คำ เมื่อได้คำศัพท์จำนวน 4 คำแล้ว ครูจะอ่านและสะกดให้ฟังทุกคำ คำละ 3 ครั้ง แล้วให้นักเรียนอ่านตาม หลักจากนั้นก็ปิดป้ายคำศัพท์ และให้นักเรียนเขียนคำศัพท์จำนวน 4 คำ คำละ 10 ครั้งลงในกระดาษที่ครูแจกให้ โดยไม่มีตัวอย่างให้ดู และให้วันศุกร์คาบที่ 5 มาทดสอบการเขียนคำศัพท์ของสัปดาห์ที่ 2 โดยครูจะขานชื่อคำศัพท์ให้แล้ว ให้นักเรียนเขียนตาม และบันทึกผลครั้งที่ 2
3. ใช้คาบที่ 7 ของวันพุธ เริ่มจากสัปดาห์ที่ 7 ให้ตัวแทนนักเรียนมาจับฉลากคำศัพท์จำนวน 4 คำ เมื่อได้คำศัพท์จำนวน 4 คำแล้ว ครูจะอ่านและสะกดให้ฟังทุกคำ คำละ 3 ครั้ง แล้วให้นักเรียนอ่านตาม หลักจากนั้นก็ปิดป้ายคำศัพท์ และให้นักเรียนเขียนคำศัพท์จำนวน 4 คำ คำละ 10 ครั้งลงในกระดาษที่ครูแจกให้ โดยไม่มีตัวอย่างให้ดู และให้วันศุกร์คาบที่ 5 มาทดสอบการเขียนคำศัพท์ของสัปดาห์ที่ 3 โดยครูจะขานชื่อคำศัพท์ให้แล้ว ให้นักเรียนเขียนตาม และบันทึกผลครั้งที่ 3
4. สัปดาห์ที่ 4 คาบที่ 7 ของวันพุธ ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบการเขียนคำศัพท์ทั้งหมด 12 คำ
5. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในขณะเขียนคำศัพท์ และจดบันทึกทุกครั้ง
การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการดังนี้
1. พิจารณาคะแนนที่ทดสอบในวันศุกร์ 3 ครั้ง และคะแนนเฉลี่ย
2. พิจารณาการทดสอบในสัปดาห์ที่ 4 โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนคำศัพท์ทั้งหมด 12 คำ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
1. ค่าร้อยละ ( % )
2. ค่าเฉลี่ย ( X )
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ( X ) แทนค่าเฉลี่ย ( Mean ) ของข้อมูล
ผลการวิจัย
ผลจากการทดสอบการฝึกหัดการเขียนคำศัพท์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ
จำนวน 12 คำ ทั้ง 3 ครั้ง พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะเขียนคำศัพท์ได้ดีขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบครั้งที่ 1 เท่ากับ 3.45 (ค่าเฉลี่ยเต็ม 4) ครั้งที่ 2 เท่ากับ 7.54 (ค่าเฉลี่ยเต็ม 8) และครั้งที่ 3 เท่ากับ 10.54 54 (ค่าเฉลี่ยเต็ม 12) ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคะแนนการทำแบบทดสอบ การเขียนคำศัพท์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ
รายชื่อนักศึกษา | จำนวนคำศัพท์ที่เขียนถูก ครั้งที่ 1 ( 4 คำศัพท์) | จำนวนคำศัพท์ที่ เขียนถูก ครั้งที่ 2 ( 8 คำศัพท์) | จำนวนคำศัพท์ที่เขียนถูก ครั้งที่ 3 ( 12 คำศัพท์) |
1. นางสาวธนาภรณ์ เงินเหรียญ | 4 | 8 | 12 |
2. นางสาวพรพรรณ ภายวิชิต | 4 | 8 | 8 |
3. นางสาวพิศมัย ปิ่นแก้ว | 3 | 8 | 10 |
4. นางสาวสมร นาคาวงค์ | 4 | 8 | 12 |
5. นายสัมพันธ์ รอดภัย | 3 | 4 | 9 |
6. นางสาวอำพร อาจคงหาญ | 4 | 8 | 12 |
7. นางสาวอุมาวสุ แก้วศรี | 4 | 8 | 12 |
8. นางสาวแอนนา แผนปั้น | 4 | 8 | 12 |
9. นางสาวอังคณา สมหวัง | 3 | 8 | 12 |
10. นางสาววาริน อ่ำกุล | 4 | 8 | 11 |
11. นายธีรภัทร์ กุดสาขา | 1 | 7 | 6 |
เฉลี่ย | 3.45 | 7.54 | 10.54 |
เมื่อพิจารณาผลการทดสอบเรื่อง การเขียนคำศัพท์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ พบว่า มีนักเรียน 7 คน ที่สามารถเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องทุกตัว ( ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ) และมีนักเรียนอีก จำนวน 4 คน ที่ยังไม่สามารถเขียนคำศัพท์ได้ถูกต้องทุกตัว ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของการเขียนคำศัพท์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
รายชื่อนักศึกษา | จำนวนคำศัพท์ที่เขียนถูก ( 12 คำศัพท์) | ร้อยละ |
1. นางสาวธนาภรณ์ เงินเหรียญ | 12 | 100.00 |
2. นางสาวพรพรรณ ภายวิชิต | 12 | 100.00 |
3. นางสาวพิศมัย ปิ่นแก้ว | 11 | 91.66 |
4. นางสาวสมร นาคาวงค์ | 12 | 100.00 |
5. นายสัมพันธ์ รอดภัย | 10 | 83.33 |
6. นางสาวอำพร อาจคงหาญ | 12 | 100.00 |
7. นางสาวอุมาวสุ แก้วศรี | 12 | 100.00 |
8. นางสาวแอนนา แผนปั้น | 12 | 100.00 |
9. นางสาวอังคณา สมหวัง | 12 | 100.00 |
10. นางสาววาริน อ่ำกุล | 12 | 100.00 |
11. นายธีรภัทร์ กุดสาขา | 10 | 83.33 |
นอกจากนี้ จากการสังเกตพบว่า นักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าร้อยละ 100.00 ไม่สามารถเขียนได้ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจาก ไม่มีสมาธิในการเรียนและการเขียน คือ นักเรียนเลขที่ 3,5,11 ครูจึงให้ไปนั่งสมาธิในห้องพักครูเป็นเวลา 15 นาที และให้ท่องคำศัพท์อีกครั้งทั้ง 12 คำ พบว่านักเรียน 3 คนนี้ สามารถเขียนได้ดีขึ้น แต่นักเรียนเลขที่ 5 มีปัญหาเกี่ยวกับสภาพร่างกาย ต้องใช้เวลาฝึกหัดมากกว่าเพื่อนร่วมห้องเป็นพิเศษ
ข้อเสนอแนะ
1. ครูควรพยายามฝึกนักเรียน ให้หัดอ่าน และเขียน คำศัพท์หรือประโยคที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ท้ายสมุดของนักเรียน นักเรียนจะเกิดความคุ้ยเคยและชำนาญขึ้น
2. ครูควรพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มากขึ้น หรือจะเรียนรู้การใช้โปรแกรมช่วยสอนเพื่อพัฒนาสื่อในเรื่องต่อไป หรือจัดซื้อสื่อเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง1. หนังสือฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้เบื้องต้น ของสำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก